Get Adobe Flash player

ผู้สนับสนุน

  

Error message

User warning: The following module is missing from the file system: ldap_profile. For information about how to fix this, see the documentation page. in _drupal_trigger_error_with_delayed_logging() (line 1181 of /var/www/html/includes/bootstrap.inc).

นายนันทพงศ์ นาคฤทธิ์

ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์

(การโรงแรมและการท่องเที่ยว)

          นายนันทพงศ์  นาคฤทธิ์  เกิดเมื่อวันที่ 26 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2505 อายุ 53 ปี สำเร็จการศึกษา  ระดับประถมศึกษา โรงเรียนโภคาพาณิชย์นุกูลมูลนิธิ  จังหวัดกระบี่  ระดับมัธยมต้น โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล จังหวัดกระบี่ และโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช  ระดับมัธยมปลาย โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันทำการท่องเที่ยวร่วมกับ เพื่อน พี่น้อง คนในชุมชนท่องเที่ยวอำเภออ่าวลึก และเป็นวิทยากรบรรยายในการศึกษาดูงาน วิทยากรนันทนาการ ให้กับหน่วยงาน องค์กร บริษัทต่างๆ เพื่อปลูกฝังเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน วัฒนวิถีแห่งการดำรงชีวิตของชาวใต้ ชาวไทย

          ผลงานทางวิชาการ  ปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่  คิดค้นศึกษาหาวิธีการ และน้อมนำเอากรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมาสร้างความเข้าใจกับกลุ่มแกนนำผู้นำชุมชน ชาวบ้าน จึงได้ก่อตั้งเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนอ่าวลึกขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2552 ตลอดระยะเวลาเกือบสิบปีที่คร่ำหวอดอยู่กับการท่องเที่ยววิถีชุมชน จึงเป็นผู้ที่มี ภูมิรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว ทั้งในอำเภออ่าวลึก และในจังหวัดกระบี่ ในด้านการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นเครื่องมือหรือยานพาหนะในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนในทุกมิติได้เป็นอย่างดี  ปัจจุบันจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของการท่องเที่ยววิถีไทย ที่ประยุกต์ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถแข่งขันและเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวจนทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาตลอดทั้งปี KRABI 365 DAYS @ AOLUK กับการบริหารจัดการในระบบ Social Enterprise ที่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยจะสามารถเข้ามาศึกษารูปแบบและสามารถนำไปประยุกต์ หรือพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อมต่อไป

          ผลงานทางด้านสังคม  ได้รับแต่งตั้งเป็น “ครูภูมิปัญญาท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่” ขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือจนได้รับคัดเลือกเป็น ชุมชน ท่องเที่ยวต้นแบบของจังหวัดกระบี่   ร่วมพัฒนาปรับปรุงการขับเคลื่อน พัฒนาชุมชนท่องเที่ยวในเครือข่ายอำเภออ่าวลึก โดยส่งเสริมให้ชุมชน หมู่บ้านท่องเที่ยวร่วมกันเป็นเครือข่ายระดับตำบล เพื่อประสิทธิภาพในเชิง    การปฏิบัติงาน ประสานงาน ช่วยเหลือกันในพื้นที่ระดับตำบล โดยนำร่องที่ตำบลแหลมสัก   ได้รับคัดเลือกเป็น ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลอ่าวลึกใต้ จังหวัดกระบี่   ได้รับรางวัลองค์กรสนับสนุนการท่องเที่ยว “ดีเด่น” ในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย Thailand  Tourism Awards 2013 และ 2015จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับวิทยาลัยการอาชีพ จัดฝึกอบรมแม่บ้านในที่พักโฮมสเตย์ให้กับคนในชุมชน  ได้รับคัดเลือกเป็นคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ป่าชายเลน) จังหวัดกระบี่  ได้รับคัดเลือกเป็นคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี (PAC)  ร่วมกับโรงพยาบาลอ่าวลึก จัดฝึกอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับไกด์ชุมชนและในที่พักโฮมสเตย์  จัดให้มีมุมปฐมพยาบาลในที่พักที่ ไร่ปรีดาโฮมสต์ และบุหลัน   อันดา บาบ๋า รีสอร์ท    ร่วมกันร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชายฝั่งอันดามัน ประชุมที่โรงแรมเพิร์ล ภูเก็ต โดยมีวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต เป็นพี่เลี้ยง  ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง และสถาบันการศึกษาต่างๆ จัดอบรมหลักสูตรด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน  ร่วมกับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกระบี่ จัดอบรมสปาตะวันตก Swedish Tretment  ให้กับกลุ่มแม่บ้านสปาในชุมชน  ร่วมกับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกระบี่ จัดอบรมอาหารไทยเพื่อสุขภาพ ให้กับกลุ่มแม่บ้านในชุมชน   ร่วมกับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกระบี่ จัดอบรมภาษาจีนให้กับกลุ่มมัคคุเทศก์นำเที่ยวในชุมชน เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวสู่ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบปี 2559 ของเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ ปี 2554ได้สืบค้นและรื้อฟื้นการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้านสาขา ร็องแง็งในพื้นที่หมู่ที่ 4 บานเขาดิน ต.หน้าเขา อ.เขาพนม จ.กระบี่ และในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านถ้ำเสือ ต.อ่าวลึกใต้ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ จนสำเร็จ สามารถเกิดกลุ่มการแสดง ร็องแง็งพื้นบ้านให้นักท่องเที่ยวผู้มาเยือน ได้ชมทั้งสองหมู่บ้านในปัจจุบัน

          ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย   ร่วมพิจารณาหลักสูตรใหม่ของวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว หลักสูตรใหม่ 2554   ในประเด็น ของรายวิชาการจัดนำเที่ยวโดยชุมชน การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น  เป็นวิทยากรบรรยายและนำชมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ให้กับบุคลากรสังกัดวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง   เป็นผู้ให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำหลักสูตรใหม่ และหลักสูตรปรับปรุงของวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล   ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง และเป็นสถานที่ฝึกงานให้กับนักศึกษา